วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2555

วาเลนไทน์


วาเลนไทน์

เดือนแห่งความรัก
เดือน นี้กุมภาพันธ์ วันวา เลนไทน์
แห่ง หนพานพบพา หวานชื่น
ความ รักเจ้าชั่งหา ความสุข ให้มนุษย์
รัก หลากล้วนชื่นมื่น ในวันวาเลนไทน์

Valentine is coming soon
February is cool for love
Guys, Girls give … at noon Chocolates or Roses
All falling in love Happy All Day

          ประวัติ 

          วันวาเลนไทน์นั้นมีมาตั้งแต่สมัยจักรวรรดิโรมัน ในกรุงโรมสมัยก่อนนั้น วันที่ 14 กุมภาพันธ์ จะเป็นวันเฉลิมฉลองของจูโนซึ่งเป็นราชินีแห่งเหล่าเทพและเทพธิดาของโรมัน ชาวโรมันรู้จักเธอในนามของเทพธิดาแห่ง อิสตรีและการแต่งงาน และในวันถัดมาคือวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ก็จะเป็นวันเริ่มต้นงานเลี้ยงของ Lupercalia การดำเนินชีวิตของเด็กหนุ่มและเด็กสาวในสมัยนั้นจะถูกแยกจากกันอย่างเด็ดขาด แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีประเพณี อย่างนึง ซึ่งเด็กหนุ่มสาวยังสืบทอดต่อกันมา คือ คืนก่อนวันเฉลิมฉลอง Lupercalia นั้นชื่อของเด็กสาวทุกคนจะถูกเขียนลงในเศษกระดาษเล็ก ๆ และจะใส่เอาไว้ในเหยือก เด็กหนุ่มแต่ละคนจะดึงชื่อของเด็กสาวออกจากเหยือก แล้วหลังจากนั้นก็จะจับคู่กันในงานเฉลิมฉลอง บางครั้งการจับคู่นี้ ท้ายที่สุดก็จะจบลงด้วยการที่เด็กหนุ่มและเด็กสาวทั้งสองนั้นได้ตกหลุมรักกันและแต่งงานกันในที่สุด

           ในรัชสมัยของ จักรพรรดิคลอดิอัสที่ 2 (Emperor Claudius II) แห่งกรุงโรม พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ที่มีใจคอดุร้ายและทรงนิยมการทำสงครามนองเลือด ได้ทรงตระหนักว่าเหตุที่ ชายหนุ่มส่วนมากไม่ประสงค์จะเข้าร่วม ในกองทัพเนื่องจากไม่อยากจากคู่รัก และครอบครัวไป จึงทรงมีพระราชโอง การสั่งห้ามมิให้มีการจัดพิธีหมั้นและแต่งงานกันในโรมโดยเด็ดขาด ทำให้ ประชาชนทุกข์ใจเป็นอย่างยิ่ง และขณะนั้น มีนักบุญรูปหนึ่งนามว่า เซนต์วาเลนไทน์ หรือวาเลนตินัส ซึ่งอาศัยอยู่ในโรมได้ ร่วมมือกับเซนต์มาริอัสจัดพิธีแต่งงานให้กับ ชาวคริสต์หลายคู่ และด้วยความปรารถนา ดีนี้เองจึงทำให้วาเลนไทน์ถูกจับและระ หว่างนี้ก็ยังคงส่งคำอวยพรวาเลนไทน์ ของเขาเองขณะที่เขาเป็นนักโทษ เป็นความเชื่อว่าวาเลนไทน์ได้ตกหลุมรักหญิง สาวที่เป็นลูกสาวของผู้คุมที่ชื่อจูเลีย ซึ่งได้มาเยี่ยมเขาระหว่างที่ถูกคุมขัง ในคืนก่อนที่วาเลนไทน์จะสิ้นชีวิตโดยการถูกตัดศีรษะ เขาได้ส่งจดหมายฉบับ สุดท้ายถึงจูเลีย โดยลงท้ายว่า “From Your Valentine”

          วันที่ 14 กุมภาพันธ์ .. 270 หลังจากนั้นศพของเขาได้ถูกเก็บไว้ที่โบสถ์พราซีเดส (Praxedes) ณ กรุงโรม จูเลียได้ปลูกต้นอามันต์ หรืออัลมอลต์สีชมพู ไว้ใกล้หลุมศพของวาเลนตินัส แด่ผู้เป็นที่รักของเธอ โดยในทุกวันนี้ ต้นอามันต์สีชมพูได้เป็นตัวแทนแห่งรักนิรันดรและมิตรภาพ อันสวยงาม และคำนี้ก็เป็นคำที่ใช้มาจนถึงปัจจุบัน ถึงแม้ว่าเบื้องหลังความเป็นจริงของวาเลนไทน์จะเป็นตำนานที่มืดมัว แต่เรื่องราวยังคงแสดงให้เห็นถึงความรู้สึกสงสาร ความกล้าหาญและที่สำคัญที่สุดเป็นเครื่องหมายของความโรแมนติค จึงไม่น่าประหลาดใจ เลยว่าในช่วงยุคกลางวาเลนไทน์เป็นนักบุญ ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในอังกฤษและฝรั่งเศส ต่อมาพระในนิกายโรมันคาทอลิกจึงเลือกให้ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ เป็นวันเฉลิมฉลองเทศกาลแห่งความรักและดูเหมือนว่ายัง คงเป็นธรรมเนียมที่ชายหนุ่มจะเลือกหญิงสาวที่ตนเองพึงใจในวันวาเลนไทน์ สืบต่อกันมาจนถึงทุกวันนี้


การส่งดอกไม้วันวาเลนไทน์

มนุษย์ได้ใช้ดอกไม้เป็นสื่อในการแสดงความรักต่อกันมานานแล้ว เราคิดว่าดอกไม้เป็นสิ่งความรักของหนุ่มสาวเท่านั้น แต่แท้จริงแล้วดอกไม้ยังใช้สื่อความรักได้หลายรูปแบบ ทั้งยังไม่จำกัดอายุและเพศอีกด้วย
  • กุหลาบแดง (Red Rose) : จะใช้ในความหมายแทน ประโยคที่ว่า "ฉันรักเธอ"
  • กุหลาบขาว (White Rose) : กุหลาบขาวแทนความหมายแห่งความรักอันบริสุทธิ์
  • กุหลาบชมพู (Pink Rose) : มักถูกใช้แทนความรักแบบโรแมนติก และความเสน่หาต่อกัน
  • กุหลาบเหลือง (Yellow Rose) : สีเหลืองเป็นสีแห่งความสดใส แทนความรักแบบเพื่อน
โดยในการมอบดอกกุหลาบในวันวาเลนไทน์นั้นเชื่อกันว่า จำนวนดอกกุหลาบที่มอบแก่กันนั้น มีความหมายต่อความรักกันอีกด้วย โดยได้แก่
  • 1 ดอก หมายถึง ความรักแบบ รับแรกพบ
  • 2 ดอก หมายถึงการแสดงความยินดี
  • 3 ดอก แทนคำบอกรักว่า ฉันรักเธอ
  • 7 ดอก แทนคำพูดที่ว่า เธอทำให้ฉันหลงเสน่ห์
  • 9 ดอก แทนความหมายที่ว่า ทั้งสองคนจะรักกันตลอดไป
  • 10 ดอก แทนความหมายว่า เธอเป็นคนที่ดีเลิศที่สุด
  • 11 ดอก แทนความหมายว่า การเป็นสิ่งที่มีค่าที่สุดของฉัน
  • 12 ดอก แทนความหมายว่า การขอให้เธอเป็นคู่ฉัน
  • 13 ดอก แทนความหมายว่า ความเป็นเพื่อนแท้เสมอ (ซึ่งอีกนัยหนึ่งคือ การบอกปฏิเสธด้วยความรักอย่างเพื่อน)
  • 15 ดอก แทนความหมายว่า แทนความรู้สึกเสียใจจริง
  • 20 ดอก แทนความหมายว่า ความจริงใจต่อกัน
  • 21 ดอก แทนความหมายว่า ถึงการมอบชีวิตอุทิศให้
  • 36 ดอก แทนความหมายว่า ความทรงจำที่แสนหวานที่ยังมีต่อกัน
  • 40 ดอก แทนความหมายว่า ยืนยันว่าความรักเป็นรักแท้
  • 99 ดอก แทนคำพูดที่ว่า ฉันรักเธอจนวันตาย
  • 100 ดอก แทนคำพูดที่ว่า ฉันอุทิศชีวิตนี้เพื่อเธอ
  • 101 ดอก แทนคำพูดที่ว่า ฉันมีเธอเพียงคนเดียวเท่านั้น
  • 108 ดอก แทนความหมายถึงการขอแต่งงานแบบอ้อมๆ ที่ผู้ให้ไม่กล้าพูด
  • 999 ดอก แทนคำพูดที่ว่า ฉันจะรักเธอจนวินาทีสุดท้าย
  • 1,000 ดอก แทนคำพูดที่ว่า ฉันจะรักเธอจนวันตาย
  • 9,999 ดอก แทนคำพูดที่ว่า ฉันจะรักเธอชั่วนิรันดร


    คาถารัก

    กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม จึงอยากจะขอเสนอ " ๔ อ. คาถารักษา รัก ให้ยั่งยืน"ซึ่งคาถา ในที่นี้ มิใช่มนต์ที่จะเสกเป่าให้คนมารัก มาชอบ แต่เป็นเหมือนแนวทางให้คู่รัก หรือแม้แต่คู่สามีภริยาได้นำไปประพฤติปฏิบัติเพื่อความสุข ความสดชื่นในชีวิตคู่ต่อไป
    .แรก คือ เอาใจใส่ ธรรมชาติของคนเราไม่ว่าหญิงหรือชายล้วนพอใจให้มีคนมาเอาใจใส่ต่อตัวเราทั้งสิ้น ยิ่งเป็นแฟนหรือคนใกล้ชิดทำให้ก็ยิ่งทวีความสุขใจ การเอาใจใส่ในที่นี้ นับตั้งแต่การให้ความสนใจไต่ถามสารทุกข์สุกดิบของกันและกัน ให้ความห่วงหาอาทรอย่างสม่ำเสมอ เอาใจเขามาใส่ใจเรา คอยเอาใจ ช่วยเป็นกำลังใจซึ่งกันและกัน ไม่เอาแต่ใจตัวหรือเอาแต่ได้ ที่สำคัญคือ ไม่เอาใจออกห่างจนเกิดปัญหาตามมา
    .ที่สอง คือเอื้อนเอ่ยวาจาดี โดยปกติ คนเรามักจะพูดจากับผู้ที่เราไม่รู้จักด้วยถ้อยคำที่ไพเราะสุภาพ แต่เมื่อสนิทชิดเชื้อกันแล้ว ปรากฏว่าหลายค นมักจะขาดความเกรงใจต่อกัน และบ่อยครั้งก็พูดจากันด้วยคำไม่เหมาะสม ก้าวร้าว ซึ่งจริงๆแล้วไม่ว่าจะสนิทกันเพียงไหน ถ้อยคำที่ไพเราะ อ่อนหวาน สุภาพก็ยังเป็นสิ่งฟังแล้วรื่นหู ให้ความสบายใจ ยิ่งเป็นคำชื่นชมด้วยแล้ว ไม่ว่าจะเป็นคู่รักหรือคู่ครอง ย่อมฟังแล้วเกิดความชื่นใจ มีกำลังใจเพิ่มขึ้น ดังนั้น เราจึงควรพูดดีต่อกัน แม้แต่การตำหนิก็ไม่ควรใช้ถ้อยคำที่รุนแรง หรือดุด่าให้คนฟังเสียน้ำใจ
    .ที่สาม คือ อดทน การที่คนสองคนจะมาเป็นแฟนหรือกลายมาเป็นสามีภริยากันในอนาคตได้นั้น สิ่งหนึ่งที่ต้องมีคือ ความอดทนซึ่งกันและกัน เพราะการที่มาจากคนละครอบครัวอันมีความต่างกันไม่มากก็น้อย ย่อมต้องใช้เวลาศึกษาและปรับตัวเข้าหากัน หากไม่มีความอดทนเพียงพอ ก็อาจจะต้องเลิกรากันไปก่อน ที่จะรู้จักกันดีเสียอีก และเมื่อใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันแล้ว ก็ยิ่งต้องมีความอดทนมากขึ้น เพราะการดำรงชีวิตคู่ยังต้องช่วยกันทำมาหากิน และช่วยกันฝ่าฟันอุปสรรคข้างหน้าอีกมากมาย
    .ที่สี่ คือ อภัยแก่กันและกัน ในชีวิตของคนเรานั้น ย่อมมีผิดพลาดกันเป็นธรรมดา ดังนั้น การรู้จักให้อภัยทั้งแก่ตัวเอง และคนที่เรารักจึงเป็นสิ่งจ ำเป็น มิฉะนั้นแล้ว เราจะอยู่กันด้วยความกินแหนงแคลงใจต่อกัน หรือโกรธกันอยู่ตลอดเวลา ทำให้ไม่มีความสุขทั้งคู่ เพราะจิตใจเต็มไปด้วยความเคร่งเครียด ไม่สบายใจ เจ็บใจไม่หาย หรือบางคนก็หาทางแก้แค้น กลายเป็นเวรเป็นกรรมต่อกันไม่รู้จบสิ้น การให้อภัยจึงเป็นการสร้างความสงบสุข ร่มเย็นให้แก่จิตใจและชีวิตคู่ของเรา
    ทั้ง ๔ อ. นี้ เป็นเพียงแนวทางกว้างๆ ที่เชื่อว่าใครปฏิบัติแล้วจะช่วยให้ชีวิตคู่รัก และคู่ครองมีความมั่นคง ยืนยาวยิ่งขึ้น และนอกเหนือไปจาก ๔ อ.ข้างต้นแล้ว สำหรับวัยรุ่น หรือเด็กๆที่ยังอยู่ในวัยเรียน ควรเพิ่ม อ.อดใจ เข้าไปด้วย คือจะรักจะชอบใคร ก็ควรยับยั้งชั่งใจให้ดี เพราะวัยนี้ก็ยังรับผิดชอบตัวเองไม่ค่อยได้ อย่าไปมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร เพราะนอกจากจะสร้างปัญหาให้ตัวเอง และครอบครัวแล้ว ยังจะก่อให้เกิดปัญหาสังคมอย่างที่เราเห็นๆกันอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งคงไม่มีใครปรารถนาให้เป็นเช่นนั้น แน่นอน





วันอังคารที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2555

วันครู

๑๖ มกราคม  วันครู


ความหมายของครู 
          ครู หมายถึง ผู้อบรมสั่งสอน ผู้ถ่ายทอดความรู้ ผู้สร้างสรรค์ภูมิปัญญา และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองของสังคมและประเทศชาติ 



ความสำคัญของครู 
          ในชีวิตของคนเราถือว่า บิดามารดา เป็นผู้มีพระคุณอันสูงสุด เพราะท่านเป็นผู้ให้ชีวิต ให้ความรัก ให้ความเมตตา มีความห่วงใย และเสียสละเพื่อลูก นอกจาก บิดามารดา แล้ว ก็มีครูเป็นผู้มีพระคุณคล้าย บิดามารดา คือ เป็นผู้อบรมสั่งสอนถ่ายทอดวิชาความรู้ให้ รวมทั้งให้ความรัก ความเมตตาต่อศิษย์ทุกคน นับได้ว่าครูเป็นผู้เสียสละที่ไม่แพ้บุพการี
         ครูจึงนับเป็นปูชนียบุคคลที่มีความสำคัญอย่างมาก ในการให้การศึกษาเรียนรู้ ทั้งในด้านวิชาการ และประสบการณ์ ตลอดเป็นผู้มีความเสียสละ ดูแลเอาใจใส่ สั่งสอนอบรมให้เด็กได้พบกับแสงสว่างแห่งปัญญา อันเป็นหนทางแห่งการประกอบอาชีพเลี้ยงดูตนเอง รวมทั้งนำพาสังคมประเทศชาติ ก้าวไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง ฉะนั้นวันที่ 6 ตุลาคม จึงได้เป็นวันครูสากล เพื่อคนที่เป็นครูทั่วโลกที่เสียสละนำพาเราทุก ๆคน ไปถึงฝั่งฝันนั่นเอง 




ประวัติความเป็นมา
          วันครู ได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2500 สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อปี พ.ศ.2488 ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า คุรุสภา เป็นนิติบุคคลให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครูในขณะเดียวกัน ก็ทำหน้าที่ให้ความเห็นเรื่องนโยบายการศึกษา และวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษาธิการ ควบคุมจรรยาและวินัยของครู รักษาผลประโยชน์ ส่งเสริมฐานะของครู จัดสวัสดิการให้ครู และครอบครัวได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้ และความสามัคคีของครู
          ทุกปีคุรุสภาจะจัดให้มีการประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนครูทั่วประเทศแถลงผลงานในรอบปีที่ผ่านมา และซักถามปัญหาข้อข้องใจต่างๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานของคุรุสภาโดยมีคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภา เป็นผู้ตอบข้อสงสัย สถานที่ในการประชุมสมัยนั้นใช้หอประชุมสามัคคยาจารย์ หอประชุมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในระยะหลังใช้หอประชุมคุรุสภา
          พ.ศ.2499 ในที่ประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี จอมพล ป.พิบูล สงคราม นายกรัฐมนตรี และประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติศักดิ์ ได้กล่าวคำปราศรัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศว่า
          "ที่อยากเสนอในตอนนี้ก็คือว่า เนื่องจากผู้เป็นครูมีบุญคุณเป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่า วันครู ควรมีสักวันหนนึ่งสำหรับให้บรรดาลูกศิษย์ทั้งหลายได้แสดงความเคารพสักการะต่อวันสงกรานต์ เราก็นำเอาอัฐิของผู้มีพระคุณบังเกิดเกล้ามาทำบุญ ทำทาน คนที่สองรองลงไปก็คือครูผู้เสียสละทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าในโอกาสนี้จะขอฝากที่ประชุมไว้ด้วย ลองปรึกษาหารือกันในหลักการ ทุกคนคงจะไม่ขัดข้อง" 
          จากแนวความคิดนี้ กอปรกับความเห็นของครูที่แสดงออกทางสื่อมวลชนและอื่นๆ ที่ล้วนเรียกร้องให้มีวันครูเพื่อให้เป็นวันแห่งการรำลึกถึงความสำคัญของครูในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ ประกอบคุณงามความดีเพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชนเป็นอันมาก ในปีเดียวกันที่ให้มีวันครูเพี่อเสนอคณะกรรมการอำนวยการต่อไป โดยได้เสนอหลักการว่า เพื่อจะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพจารย์ ส่งเสริมความสามัคคีธรรมระหว่างครูและพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างครูกับประชาชน
          คณะมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2499 ให้วันที่ 16 มกราคมของทุกปีเป็น วันครู โดยถือเอาวันที่ประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2488 เป็น วันครู และให้กระทรวงศึกษาธิการสั่งการให้นักเรียนและครูหยุดในวันดังกล่าว
          งานวันครูได้จัดเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2500 ในส่วนกลางใช้สถานที่ของกรีฑาสถานแห่งชาติเป็นที่จัดงาน ได้กำหนดเป็นหลักการให้มีอนุสรณ์งานวันครูไว้แก่อนุชนรุ่นหลังทุกปี อนุสรณ์ที่สำคัญ คือ หนังประวัติครู หนังสือที่ระลึกวันครู และสิ่งก่อสร้างที่เป็นถาวรวัตถุ

คำขวัญวันครู
 คำขวัญวันครู ประจำปี พ.ศ. 2555 จากการประกวดของคุรุสภา ซึ่งคำขวัญที่ชนะเลิศ ได้แก่
บูชาครูแห่งแผ่นดิน จอมปราชญ์ศาสตร์ศิลป์ สยามินทร์”ภูมิพล”
ของนางสาวขนิษฐา อุตรโส จังหวัดนครปฐม



วันอังคารที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2555

วันเด็กแห่งชาติ

วันเด็กแห่งชาติ

ประวัติความเป็นมา
        วันเด็กแห่งชาติ มีต้นกำเนิดมาจากการที่องค์การสหประชาชาติทั่วโลกเกิดความตื่นตัว และเห็นพ้องต้องกันว่าควรจะให้ความสำคัญแก่เด็ก ๆ โดยในปี พ.ศ. 2498 นายวี เอ็ม กุล ผู้แทนองค์การสหพันธ์เพื่อสวัสดิการเด็กระหว่างประเทศ ได้เป็นผู้เสนอต่อกรมประชาสงเคราะห์ ให้มีการจัดงานวันเด็กแห่งชาติขึ้น เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนได้เห็นความสำคัญ และความต้องการของเด็ก รวมถึงเพื่อเป็นการกระตุ้นให้เด็กตระหนักถึงบทบาทอันสำคัญของตนในประเทศ โดยปลูกฝังให้เด็กมีส่วนร่วมในสังคม เตรียมพร้อมให้ตนเองเป็นกำลังของชาติ
         ทั้งนี้ การขานรับกับการจัดงานวันเด็กแห่งชาติได้เป็นไปอย่างกว้างขวาง ในปีเดียวกันนั้นเองทั่วโลกไม่น้อยกว่า 40 ประเทศ จัดงานฉลองวันเด็กแห่งชาติของตนขึ้น โดยได้มีการกำหนดว่าจะถือเอาวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมของทุกปี เป็นวันเด็กแห่งชาติ
         สำหรับประเทศไทย ได้ตอบรับข้อเสนอของนายวี เอ็ม กุลกานี ซึ่งบอกผ่านมาทางกรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทยว่า ไทยควรจัดงานเฉลิมฉลองวันเด็กแห่งชาติ รัฐบาลจึงได้จัดให้มีคณะกรรมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติ ขึ้นมาคณะหนึ่ง ทำหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และเอกชน กำหนดให้มีการฉลองวันเด็กแห่งชาติทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จุดประสงค์เพื่อให้เด็กทั่วประเทศทั้งในระบบโรงเรียน และนอกระบบโรงเรียน ได้รู้ถึงความสำคัญของตน เกี่ยวกับสิทธิ หน้าที่ ความรับผิดชอบ ระเบียบวินัย ที่มีต่อตนเองและสังคม มีความยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข



         อย่างไรก็ตาม งานวันเด็กแห่งชาติครั้งแรกของประเทศไทย จัดขึ้นเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ.2498 จากนั้นเป็นต้นมา ราชการได้กำหนดวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมของทุกปี เป็นวันเด็กแห่งชาติ โดยจัดต่อเนื่องกันมาจนถึงปี 2506 ที่ประชุมคณะกรรมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติในปีนั้น ได้มีความเห็นพ้องต้องกันว่า สมควรที่จะเสนอเปลี่ยนวันจัดงานวันเด็กแห่งชาติเสียใหม่ ด้วยเหตุผลว่า เดือนตุลาคมสำหรับประเทศไทย เป็นเดือนที่ยังอยู่ในฤดูฝน มีฝนตกมาก เด็ก ๆ ไม่สะดวกในการเดินทางมาร่วมงาน นอกจากนี้วันจันทร์เป็นวันปฏิบัติงานของผู้ปกครอง จึงไม่สามารถพาเด็กของตนไปร่วมงานได้
        ด้วยเหตุนี้ คณะรัฐมนตรีจึงมีมติเห็นชอบ ในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2507 ว่า ควรจะเปลี่ยนเป็นวันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคม ที่มีความเหมาะสมและสะดวกมากกว่า ตามที่คณะกรรมการจัดงานวัดเด็กแห่งชาติเสนอมา ส่งผลให้ในปี 2507 ไม่มีงานวันเด็กแห่งชาติด้วยการประกาศเปลี่ยนได้เลยวันมาแล้ว งานวันเด็กแห่งชาติจึงเริ่มจัดขึ้นใหม่อีกครั้งในปี 2508 เรื่อยมาถึงปัจจุบัน



วัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมวันเด็ก
         สำหรับวัตถุประสงค์ของการจัดงานวันเด็กแห่งชาติ ที่รัฐบาลไทยกำหนดไว้ คือ เพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของเด็ก สนใจในการเลี้ยงดูอบรมสั่งสอนเด็ก และช่วยเหลือสงเคราะห์เด็กเป็นพิเศษ เพื่อให้เด็กและและเยาวชนยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เพื่อให้เด็กรู้จักหน้าที่ของตนและอยู่ในระเบียบวินัยอันดี และเพื่อเผยแพร่ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิของเด็ก
         นอกจากนี้ จะเห็นได้ว่า ทุก ๆ ปี ในวันนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะพระราชทานพระบรมราโชวาท สมเด็จพระสังฆราชฯ ทรงโปรดประทานพระคติธรรม และ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีจะมอบคำขวัญวันเด็ก แสดงให้เห็นว่าเด็กเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่ามากที่สุดของชาติ เราจึงได้ยินคำพูดอยู่บ่อย ๆ ว่า "เด็กคืออนาคตของชาติ เด็กฉลาด ชาติเจริญ"


คำขวัญวันเด็ก
        คำขวัญวันเด็ก เป็น คำขวัญที่นายกรัฐมนตรีมอบให้เด็กไทย เนื่องในโอกาสวันเด็กแห่งชาติของทุกปี โดยคำขวัญวันเด็กมีขึ้นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2499 ในสมัยที่จอมพล ป.พิบูลสงครามดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และตั้งแต่ พ.ศ. 2502 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้ให้คุณค่าความสำคัญของเด็ก จึงมอบคำขวัญให้เป็นข้อคติเตือนใจสำหรับเด็กปีละ 1 คำขวัญ (ก่อนถึงวันเด็กแห่งชาติ) นายกรัฐมนตรีสมัยต่อมา จึงได้ถือเป็นธรรมเนียมสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน 
       ในปีพ.ศ.2555   นายกรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร  ได้ใหคำขวัญันเด็กไว้ว่า
''สามัคคี มีความรู้ คู่ปัญญา คงรักษาความเป็นไทย ใส่ใจเทคโนโลยี"







วันอังคารที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2554

นำเสนออาเซียน


อาเซี่ยน

สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อังกฤษ: Association of South East Asian Nations)
หรือ อาเซียน (ASEAN)
ความเป็นมา
สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีจุดเริ่มต้นขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2504 โดยประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ได้ร่วมกันจัดตั้งสมาคมอาสา หรือ Association of South East Asia ขึ้นเพื่อการร่วมมือกันทาง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม แต่ดำเนินการได้เพียง 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงักลง เนื่องจากความผกผันทางการเมืองระหว่าง ประเทศอินโดนีเซียและประเทศมาเลเซีย
จนกระทั่งต่อมามีการฟื้นฟูสัมพันธภาพระหว่างประเทศขึ้น จึงได้มีการแสวงหาลู่ทางจัดตั้งองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจขึ้นในภูมิภาค "สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" และพันเอก (พิเศษ) ดร. ถนัด คอมันตร์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในสมัยรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร โดยมีการลงนาม "ปฏิญญากรุงเทพ" ที่พระราชวังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 จาก ปฏิญญาอาเซียน ซึ่งลงนามโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิกก่อตั้ง 10ประเทศ ได้แก่ ทุกประที่อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยกเว้น ติมอร์-เลสเต้
วัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง 
ความประสงค์ของการจัดตั้งกลุ่มอาเซียนขึ้นมาเกิดจากความต้องการสภาพแวดล้อมภายนอกที่มั่นคง (เพื่อที่ผู้ปกครองของประเทศสมาชิกจะสามารถมุ่งความสนใจไปที่การสร้างประเทศ) ความกลัวต่อการแพร่ขยายของลัทธิคอมมิวนิสต์ ความศรัทธาหรือความเชื่อถือต่อมหาอำนาจภายนอกเสื่อมถอยลงในช่วงพุทธทศวรรษ 2500 รวมไปถึงความต้องการในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ การจัดตั้งกลุ่มอาเซียนมีวัตถุประสงค์ต่างกับการจัดตั้งสหภาพยุโรป เนื่องจากกลุ่มอาเซียนถูกสร้างขึ้นเพื่อสนับสนุนความเป็นชาตินิยม
เพื่อร่วมมือกันในการเพิ่มอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การพัฒนาสังคม  การพัฒนาวัฒนธรรมในกลุ่มประเทศสมาชิก และการธำรงรักษาสันติภาพและความมั่นคงในพื้นที่ และเป็นการเปิดโอกาสให้คลายข้อพิพาทระหว่างประเทศสมาชิกอย่างสันติ
ประเทศสมาชิก
มีประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ
ได้แก่ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย สิงคโปร์ บรูไน ลาว กัมพูชา เวียดนาม และพม่า


.................................................................